วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สมุนไพรท้องถิ่น


                                                   สมุนไพรไทยในท้องถิ่น
ตะไคร้
ถิ่นกำเนิด อินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย อเมริกาใต้ ไทย
รูปลักษณะ : ไม้ล้มลุกทีมีอายุได้หลายปี ชอบดินร่วนซุย ปลูกได้ ตลอดปี ใบสีเขียวยาวแหลม ดอกฟูสีขาว หัวโตขึ้น จากดินเป็นกอๆ กลิ่นหอมฉุนค่อนข้างร้อน
การปลูก : ไถพรวนดินและตากดินไว้ประมาณ 7 - 10 วัน ย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าให้เข้ากับดินขุดหลุมปลุกระยะ 30 x 30 เซนติเมตร ก่อนนำตะไคร้ไปปลูก นำพันธุ์ที่เตรียมไว้ตัดใบออก ให้เหลือต้นยาว ประมาณ 30 - 40 เซนติเมตร มาแช่น้ำประมาณ 5 - 7 วัน เพื่อให้รากงอก รากที่แก่เต็มที่จะมีสีเหลืองเข้ม นำไปปลุกในแปลงวางต้นพันธุ์ ให้เอียง 45 องศา ไปด้านใดด้านหนึ่งแล้วกลบดิน จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกได้ประมาณ 30 วัน ก็ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 หรือ 46 - 0 - 0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
น้ำมันจากใบและต้น แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม สบู่
ลำต้นแก่หรือเหง้า แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ขับประจำเดือน
ขิง
ชื่อพื้นเมือง: ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทรบุรี) ขิงเผือก (เชียงใหม่) สะเอ (แม่ฮ่องสอน) ขิงบ้าน ขิงแครง ขิงป่า ขิงเขา ขิงดอกเดียว (ภาคกลาง) เกีย (จีนแต้จิ๋ว)
ลักษณะทั่วไป : ไม้ล้มลุก สูง 0.3-1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลแกมเขียว มีกลิ่นเฉพาะ แตกสาขา คล้ายนิ้วมือ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน แกมใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม. ดอกช่อแทงออกจากเหง้า กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว ใบประดับสีเขียวอ่อน ผลแห้ง มี 3 พูสรรพคุณเหง้าแก่ทั้งสดและแห้งใช้เป็นยาขับลม ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาเจียน แก้ไอ ขับเสมหะและขับเหงื่อ ผงขิงแห้งมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน ลดการบีบตัวของลำไส้ บรรเทาอาการปวดท้องเกร

บัวบก 

รูปลักษณะ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะ แตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อ ชูขึ้น 3-5 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไต เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผลแห้ง แตกได้สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยาใบสด - ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อย ๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (keloid) น้อยลง สารที่ออกฤทธิ์คือ กรด madecassic, กรด asiatic และ asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ มีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลาก ปัจจุบัน มีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีม ให้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัด น้ำต้มใบสด - ดื่มลดไข้ รักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย
ข่า
ลักษณะทั่วไป : ไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบเดี่ย ใบสีเขียวอ่อนสลับกัน รูปร่างรียาว ปลายแหลม ดอกออกเป็นช่อที่นอ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผลแห้ง แตกได้ รูปกลมสรรพคุณเหง้าสดตำผสมกับเหล้าโรง ใช้ทารักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน เหง้าอ่อนต้มเอาน้ำดื่ม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับลม ข่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์และไม่เป็นพิษ
กระชาย
ลักษณะทั่วไป : ไม้ล้มลุก ไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดิน ซึ่งแตกรากออกไป เป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลางพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ตรงกลางด้านในของก้านใบมีรองลึก ดอกช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอก สีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก ผลของกระชายเป็นผลแห้งสรรพคุณเหง้าใช้แก้โรคในปาก ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง ขับระดูขาว
มะกรูด

ลักษณะทั่วไป : มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้าน ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็ง ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดียว สีเขียวหนา มีลักษณะคอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน ใบสีเขียวแก่ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ดอก ออกเป็นกระจุก 3–5 ดอก กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย ผล มีหลายแบบแล้วแต่พันธุ์ผลเล็กเท่ามะนาว ผิวขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่หัว
การปลูก มะกรูดปลูกได้ดีในดินทุกชนิด ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สรรพคุณทางยา :
ผิวผลสดและผลแห้ง รสปร่า หอมร้อน สรรพคุณแก้ลมหน้ามืด แก้วิงเวียน บำรุงหัวใจ ขับลมลำไส้ ขับระดู
ผล รสเปรี้ยว มีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว ฟอกโลหิต ใช้สระผมทำให้ผมดกดำ ขจัดรังแค
ราก รสเย็นจืด แก้พิษฝีภายใน แก้เสมหะ แก้ลมจุกเสียด
น้ำมะกรูด รสเปรี้ยว กัดเสมหะ ใช้ดองยามีสรรพคุณเป็นยาฟอกโลหิตสำหรับสตรี
ใบ รสปร่าหอม แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ช้ำใน และดับกลิ่นคาว

คติความเชื่อ : มะกรูดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้าน โดยกำหนดปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ) เพื่อผู้อยู่อาศัย จะได้มีความสุข และในบางตำราว่าเป็นความเชื่อของคนบ้านป่า ที่เดินทางด้วยเกวียนเทียม โคหรือกระบือเมื่อได้กลิ่นสาบเสือ จะหยุดเดิน เจ้าของจะต้องขูดผิวมะนาวหรือมะกรูด ป้ายจมูกให้ดับกลิ่นสาบเสือก่อน โค กระบือจึงจะเดินต่อไป ดังนั้นการเดิน ทางสมัยก่อนผ่านป่า ผู้เดินทางจึงมักจะพกพามะนาว และมะกรูดติดตัวไปด้วยเสมอ ในพิธีกรรมการทำน้ำมนต์เพื่อสะเดาะเคราะห์ สำหรับพรมหรืออาบผู้ป่วยใบมะกรูดเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะขาดไม่ได้ โดยใช้ร่วมกับใบส้มป่อย ใบเงินใบทอง ใบมะตูม หญ้าแพรก หมากผู้หมากเมีย ใบราชพฤกษ์ เชื่อกันว่าใบจากต้นไม้มงคลเหล่านี้จะช่วยปัดเป่าและบรรเทาเคราะห์โศกลงไปได้
ว่านห่างจระเข้ 

ลักษณะทั่วไป : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ข้อและปล้องสั้น ใบเดี่ยว เรียงรอบต้น กว้าง 5-12 ซม. ยาว 0.3-0.8 เมตร อวบน้ำมาก สีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม ภายในมีวุ้นใส ใต้ผิวสีเขียวมีน้ำยางสีเหลือง ใบอ่อนมีประสีขาว ดอกช่อออกจากกลางต้น ดอกย่อย เป็นหลอดห้อยลง สีส้ม บานจากล่างขึ้นบน ผลแห้ง แตกได้สรรพคุณวุ้นสดภายในใบที่ฝานออกใช้ปิดพอกรักษาแผลสด แผลเรื้อรัง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลไหม้เกรียม กินรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง น้ำยางสีเหลืองจากใบเคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า ยาดำ เป็นยาระบายชนิดเพิ่มการบีบตัวของลำไส้ใหญ่
ชื่อพื้นเมือง รางจืด
 วิธีใช้แบบพื้นบ้าน สรรพคุณแก้เมาแก้เบื่อส้มปลา เบื่อเห็ด เบื่อหอย ผิดของแสลง  ใช้เถากับใบไปต้มกิน  ถ้าแม่อยู่กำกินผิด  เอารากฝนใส่น้ำมะนาวกิน
สรรพคุณแก้เมาแก้เบื่อส้มปลา เบื่อเห็ด เบื่อหอย ผิดของแสลง
 ใช้เถากับใบไปต้มกิน  ถ้าแม่อยู่กำกินผิด  เอารากฝนใส่น้ำมะนาวกิน
 ชื่อพื้นเมือง ลิ้นฟ้า
 วิธีใช้แบบพื้นบ้าน เป็นยาแก้เบื่อหอย แก้เบื่อ เอาแก่นแช่น้ำกิน  แก้เบื่อส้มกุ้ง ส้มปลา สมุนไพรรสร้อน ใช้ผิวนอกต้นคลุกกับเปลือกมะรุม  เป็นเมี่ยงกินก่อนอยู่กำ (พ่อชาย  มาตรา)ถากเปลือกไปหลามกินแก้สุกกะผามม้ามหย่อน แก้เบื่อ เอาแก่นมันแช่น้ำกิน  เบื่อส้มกุ้ง ส้มปลา  ต้นลิ้นฟ้า  สมุนไพรรสร้อน ใช้ผิวนอกต้นคลุกกับเปลือกมะรุม  เป็นเมี่ยงกินก่อนอยู่กำ (พ่อชาย มาตรา)  ผากเปลือกไปหลามกินแก้สุกกะผามม้ามหย่อน
 ชื่อพื้นเมือง เล็บแมว
 วิธีใช้แบบพื้นบ้าน สรรพคุณ รากฝนใส่ฝี นอกจากนั้นเป็นยาแก้นิ่ว แก้หมากขาว ใช้เครือ ใช้เถาต้ม  เข้ากับต้นดูกใส แก้ปวดขา  ถ้าแก้หมากขาวเข้ากับต้นแดงน้อยรากฝนใส่ฝี นอกจากนั้นเป็นยาแก้นิ่ว แก้หมากขาว  แก้ได้หลายอย่าง ใช้เครือ ใช้เถาต้ม   มันจะต้องมีตัวเข้ากับมันคือต้นดูกใส แก้ปวดขา  ถ้าแก้หมากขาวเข้ากับต้นแดงน้อย เพิ่มเติมแก้โรคกระเพาะอาหารลำไส้  มีฮากเป้า เอาไปต้มใส่กัน  2 อย่าง  หนามเล็บแมวบวกกับตีนจ้ำ เลือดออกตามไรฟัน
ประโยชน์ของสมุนไพรชน์ของพืชสมุนไพร
1.             สามารถรักษาโรคบางชนิดได้ โดยไม่ต้องใช้ยาแผนปัจจุบัน ซึ่งบางชนิดอาจมีราคาแพง และต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก อีกทั้งอาจหาซื้อได้ยากในท้องถิ่นนั้น
2.             ให้ผลการรักษาได้ดีใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน และให้ความปลอดภัยแก่ผู้ใช้มากกว่าแผนปัจจุบัน
3.             สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นเพราะส่วนใหญ่ได้จากพืชซึ่งมีอยู่ทั่วไปทั้งในเมืองและ ชนบท
4.             มีราคาถูก สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาแผนปัจจุบัน ที่ต้องสั่งซื้อจากต่าง ประเทศเป็นการลดการขาดดุลทางการค้า
5.             ใช้เป็นยาบำรุงรักษาให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง
6.             ใช้เป็นอาหารและปลูกเป็นพืชผักสวนครัวได้ เช่น กะเพรา โหระพา ขิง ข่า ตำลึง
7.             ใช้ในการถนอมอาหารเช่น ลูกจันทร์ ดอกจันทร์และกานพลู
8.             ใช้ปรุงแต่ง กลิ่น สี รส ของอาหาร เช่น ลูกจันทร์ ใช้ปรุงแต่งกลิ่นอาหารพวก ขนมปัง เนย ไส้กรอก แฮม เบคอน
9.             สามารถปลูกเป็นไม้ประดับอาคารสถานที่ต่าง ๆ ให้สวยงาม เช่น คูน ชุมเห็ดเทศ
10.      ใช้ปรุงเป็นเครื่องสำอางเพื่อเสริมความงาม เช่น ว่านหางจระเข้ ปรนะคำดีควาย
11.      ใช้เป็นยาฆ่าแมลงในสวนผัก, ผลไม้ เช่น สะเดา ตะไคร้ หอม ยาสูบ
12.      เป็นพืชที่สามารถส่งออกทำรายได้ให้กับประเทศ เช่น กระวาน ขมิ้นชัน เร่ว
13.      เป็นการอนุรักษ์มรดกไทยให้ประชาชนในแต่ละท้องถิ่น รู้จักช่วยตนเองในการ นำพืชสมุนไพรในท้องถิ่นของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามแบบแผนโบราณ
14.      ทำให้คนเห็นคุณค่าและกลับมาดำเนินชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติยิ่งขึ้น
15.      ทำให้เกิดความภูมิใจในวัฒนธรรม และคุณค่าของความเป็นไทย
http://www.angelfire.com/ri2/rangsan/important.html







                                                                             




              ประวัติจังหวัดมหาสารคาม

มหาสารคามได้รับการแต่งตั้งเป็นเมือง เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2408 แต่ก่อนจะตั้งเป็นเมืองมหาสารคามนั้น บริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่ของมนุษย์มานาน บางยุค บางสมัยก็รุ่งเรือง บางยุคสมัยก็เสื่อมโทรม ตามบันทึกของหลวงอภิสิทธิ์สารคาม (บุดดี) ตลอดจนประวัติศาสตร์ภาคอีสานและเมืองมหาสารคาม ของ บุญช่วย อัตถากร ระบุว่า ท้าวมหาชัย (กวด) พาผู้คนออกจากเมืองร้อยเอ็ดมาทางทิศตะวันตก ประมาณ 1,000 เส้น จึงหยุดตั้งอยู่บริเวณที่ดอน แต่ราษฎรนิยมเรียกว่า วัดข้าวฮ้าวอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน เห็นว่าขาดแคลนแหล่งน้ำ จึงย้ายมาตั้งระหว่างกุดยางใหญ่กับหนองท่ม ซึ่งเป็นที่ชุมชนที่มีผู้อาศัยอยู่บ้างแล้ว คือ บ้านจาน ประกอบกับห่างออกไปเล็กน้อยก็เป็นห้วยตะคาง จึงนับว่าเป็นชัยภูมิที่มีแหล่งน้ำสมบูรณ์ เมืองมหาสารคามเมื่อแรกตั้งอยู่ในความดูแลบังคับบัญชาของพระขัติยวงษา (จัน) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นผู้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอรับพระราชทาน บ้านลาด กุดยางใหญ่เป็นเมือง ของท้าวมหาชัย (กวด) เป็นเจ้าเมือง
ราชสำนักได้มีสารตรามาถึงพระขัติยวงษา (จัน) ลงวันอังคาร เดือน 10 ขึ้น 1 ค่ำ ปีฉลู สัปตศก จุลศักราช 1227 ซึ่งตรงกับวันที่ 22 สิงหาคม 2408 ดังข้อความตอนหนึ่งว่า
จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสว่า ซึ่งเจ้าพระยาภูธราภัย ฯ พร้อมกับเจ้าพระยานครราชสีมาไล่เลียงแลทำแผนที่เมืองจะตั้งใหม่ เห็นการไม่เกี่ยวข้องแก่บ้าน แก่เมืองใดแล้ว จึงโปรดเกล้า ฯ ขนานนามบ้านลาดกุดยางไย เป็นเมืองมหาษาร ตามพระราชทานนามสัญญาบัติ ประทับพระราชลัญจกอร ตั้งท้าวมหาไชยเป็นที่พระเจริญราชเดช เจ้าเมือง ทำราชการขึ้นแก่เมืองร้อยเอ็ด ให้พระราชทานท้าวมหาไชย ผู้เป็นที่พระเจริญราชเดชเจ้าเมืองมหาสารคาม
เมืองมหาสารคาม นับเป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมของชาวอีสาน มีชุมชนโบราณมากมาย ไม่ว่าจะเป็นชุมชนบ้านเชียงเหียน หมู่บ้านปั้นหม้อของชาวบ้านหม้อ ตำบลเขวา อำเภอเมืองมหาสารคามแหล่งโบราณสถาน และสถานที่สำคัญทางศาสนาก็มี พระธาตุนาดูน กู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน กู่บ้านแดง อำเภอวาปีปทุม ปรางค์กู่ ตำบลเขวา อำเภอเมืองมหาสารคาม ที่น่ามาศึกษาหาความรู้ทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง
ปัจจุบันจังหวัดมหาสารคามเป็นเมือง ตักสิลา เมืองการศึกษาของชาวเมืองตักสิลา เมืองการศึกษาของชาวอีสาน มีทั้ง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วิทยาลัยพลศึกษา วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี วิทยาลัยอาชีวศึกษา รวมทั้งสถานศึกษาอุดมศึกษาของภาคเอกชน ซึ่งในช่วงเปิดภาคเรียนจังหวัดมหาสารคาม จะครึกครื้นไปด้วยนักศึกษาจากต่างถิ่นที่มาศึกษาหาความรู้จากสถานศึกษาต่าง ๆ ในจังหวัดมหาสารคาม

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

·      ตราประจำจังหวัด: รูปต้นรังใหญ่ (มาจากคำว่า มหาสาละ ในชื่อจังหวัดมหาสารคาม) กับทุ่งนา
·      ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกลั่นทมขาว (Plumeria alba)
·      ต้นไม้ประจำจังหวัด: มะรุมป่า (Albizia lebbeck)
·      คำขวัญประจำจังหวัด: พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร

ภูมิศาสตร์

·         ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดกาฬสินธุ์
·         ทิศใต้ ติดกับจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดบุรีรัมย์
·         ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดร้อยเอ็ด
·         ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดขอนแก่น

สถานที่ท่องเที่ยว

·         ปรางค์กู่บ้านเขวา
·         อ่างเก็บน้ำหนองแวง
·         หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง
·         แก่งเลิงจาน
·         หมู่บ้านปั้นหม้อ
·         อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ 
จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าได้มีชุมชนมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว เป็นชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ชุมชนที่เกิดขึ้นในระยะต่อมาเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขยายตัวของชุมชนเดิม มีลักษณะการตั้งชุมชนที่สลับซับซ้อนขึ้น เช่นเกิดชุมชนที่มีน้ำล้อมรอบ บางแห่งมีการทำเกลือ การถลุงโลหะ การทำเครื่องปั้นดินเผา ชุมชนดังกล่าวเหล่านี้เกิดขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และในสมัยประวัติศาสตร์ 
สมัยทวาราวดี 
            นับตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา ชุมชนโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา และศาสนาฮินดูเข้ามา พบร่องรอยชุมชนขนาดใหญ่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ และพบโบราณสถานในพทูธศาสนา เช่น เสมาหิน โบสถ์ วิหาร และสถูปเจดีย์ หลายแห่ง เมืองสำคัญในเขตจังหวัดมหาสารคามคือ เมืองนครจัมปาศรี อยู่ในพื้นที่อำเภอนาดูน เป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่สมัยทวาราวดี มีคูน้ำล้อมรอบ และมีอาศัยสืบต่อจนถึงสมัยลพบุรี มีซากเจดีย์สมัยทวาราวดีหลายแห่ง กลางเมืองมีเนินศาสนสถานก่อด้วยศิลาแลงเรียกว่า ศาลานางขาว ณ ที่นี้ได้พบศิลาจารึกขอม มีพระนามกษัตริย์พระบาทกับแตงอัญศรีชัยวรมันเทวะ ซึ่งอาจหมายถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ หรือที่ ๖ นอกเหนือออกไปทางด้านใต้ พบศาสนสถานขอมสมัยลพบุรีอยู่สองแห่งคือ กู่น้อย และ กู่สันตรัตน์ภายในนครจัมปาศรี มีลักษณะเป็นเนินที่เคยเป็นที่อยู่อาศัย และที่ฝังศพของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะพบภาชนะดินเผา แบบทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งมีอายุในสมัยก่อน ทวาราวดี 
            ห่างจากตัวเมืองนครจัมปาศรีไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ ๔ กิโลเมตร ได้พบสถูปบรรจุพระบรมธาตุ และพระพิมพ์สมัยทวาราวดีแบบต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก 
สมัยลพบุรี 
            การแพร่เข้ามาของวัฒนธรรมขอมยังลุ่มน้ำมูล น้ำชี ส่วนใหญ่เข้ามาทางช่องเขาในเทือกเขาพนมดงรัก นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ หรือตั้งแต่สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ เป็นต้นมา เพราะปรากฏมีโบราณสถานที่เป็นศาสนสถานที่ทำด้วยศิลาแลงเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่บริเวณลุ่มน้ำมูล ผ่านไปทางจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อุดรธานี แล้วแยกสายหนึ่งไปทางหนองหาน สว่างแดนดิน และสกลนคร ส่วนอีกสายหนึ่งออกจากอุดรธานีไปทางหนองคาย และเวียงจันทน์ 
            การพบศิลาจารึกที่บริเวณศาลานางขาว ในเขตนครจัมปาศรี แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของขอมในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗ ซากปราสาทขอมที่พบบริเวณกู่น้อย และเทวรูปพระศิวะ ตลอดจนโบราณวัตถุในศาสนาฮินดูอีกหลายชิ้น แสดงให้เห็นว่าศาสนาฮินดูได้แพร่เข้ามาสู่บริเวณนี้ 
            ใกล้กับกู่น้อยมีปราสาทศิลาแลงอีกแห่งหนึ่งคือ กู่สันตรัตน์ ซึ่งเป็นปราสาทในศิลปะสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มีลักษณะเช่นเดียวกับปราสาทหินเป็นจำนวนมากในอีสาน และสอดคล้องกับจารึกปราสาทพระขรรค์ และปราสาทตาพรหม ในกัมพูชา ที่ระบุว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ให้สร้างอโรคยาศาลขึ้นตามเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ในแว่นแคว้นของพระองค์ ห้วงเวลาดังกล่าวอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ 
            เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ อำนาจของขอมก็เสื่อมลง จนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ พระเจ้าฟ้างุ้มได้ราชสมบัติ ในเมืองเชียงดงเชียงทอง และเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองหลวงพระบาง แล้วขยายอำนาจลงมาทางเมืองเวียงจันทน์ ไผ่หนาม และเมืองอื่น ๆ ในลุ่มน้ำโขง และได้ผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง 
การเข้ามาของกลุ่มชนวัฒนธรรมล้านช้าง 
            ชุมชนบ้านทุ่ง นับเป็นชุมชนวัฒนธรรมล้านช้างกลุ่มแรก ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณตอนกลางของที่ราบสูงโคราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๒๕๖ และได้แยกออกไปตั้งบ้านเมืองต่าง ๆ ในบริเวณลุ่มน้ำชีอีกหลายเมือง รวมทั้งเมืองมหาสารคามด้วย 
            ตามประวัติเมืองมหาสารคามมีอยู่ว่า ท้าวมหาชัย(กวด) พาผู้คนออกจากเมืองร้อยเอ็ดมาทางทิศตะวันตก ประมาณ ๑,๐๐๐ เส้น จึงหยุดตั้ง ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ดอน แล้วจัดพิธีฝังเสาหลักเมืองที่บริเวณนั้น ภายหลังได้สร้างวัดชื่อ วัดดอนเมือง  แต่ชาวบ้านเรียกว่า วัดข้าวฮ้าว เมื่ออยู่มาได้ประมาณ ๖ เดือน เห็นว่าขาดแคลนแหล่งน้ำจึงย้ายมาอยู่ที่กุดยางใหญ่กับหนองทุ่ม ซึ่งเป็นชุมชนที่มีผู้อาศัยอยู่บ้างแล้วคือบ้านจาน ซึ่งห่างออกไปไม่มากมีหนองหัวช้าง และกัดหนองกระทุ่มออกไปเล็กน้อยก็มีห้วยคะคาง จึงนับว่าชัยภูมิที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ส่วนท้าวบัวทองได้พาผู้คนจำนวนหนึ่งไปตั้งถิ่นฐานอยู่ อยู่บริเวณบ้านลาดริมฝั่งลำน้ำชี 
            เมืองมหาสารคามเมื่อแรกตั้งขึ้นอยู่ในความปกครองดูแลของพระขัติยวงศา (จัน) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด ในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เจ้าเมืองจะต้องพากรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ที่เรียกว่า อาญา ๔ ผู้ช่วยอาญา ๔ และกรมการเมืองไปร่วมพิธีที่เมืองร้อยเอ็ด ร่วมกับพระขัติยวงศา ปีละ ๒ ครั้ง คือในวันตรุษ (เดือน ๕) และวันสารท (เดือน ๑๐) ทั้งนี้เพราะถือว่าเมืองมหาสารคามเพิ่งตั้งใหม่ ยังไม่คุ้นเคยกับธรรมเนียมปฏิบัติ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๑๒ เมืองมหาสารคามจึงแยกตัวออกจากเมืองร้อยเอ็ดขึ้นกับกรุงเทพ ฯ โดยตรง 
            จากเอกสารที่กล่าวถึงเมืองมหาสารคาม คือสารเจ้าพระยาจักรี ฯ ถึงพระขัติยวงศา เรื่องขนานนามบ้านลาดกุดยาวใหญ่ เป็นเมืองมหาสารคาม จ.ศ. ๑๒๒๗ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๘ แต่ในสารดังกล่าวเขียนว่า มหาสารคาม มหาษารคาม มหาษาลคาม ซึ่งก็คือมหาสารคามในปัจจุบันนั่นเอง 
ระยะทางจากเทศบาลเมืองมหาสารคามไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่างๆ
            อำเภอกันทรวิชัย                             ๑๖  กิโลเมตร
            อำเภอบรบือ                                   ๒๕  กิโลเมตร
            อำเภอโกสุมพิสัย                             ๒๘  กิโลเมตร
            อำเภอแกดำ                                    ๒๘  กิโลเมตร
            อำเภอวาปีปทุม                                ๔๐  กิโลเมตร
            อำเภอเชียงยืน                                ๕๕  กิโลเมตร
            อำเภอนาเชือก                                ๕๘  กิโลเมตร
            อำเภอนาดูน                                    ๖๔  กิโลเมตร
            อำเภอยางสีสุราช                             ๗๐  กิโลเมตร
            อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย                        ๘๒  กิโลเมตร
            กิ่งอำเภอกุดรัง                                ๔๐  กิโลเมตร
            กิ่งอำเภอชื่นชม                               ๙๐  กิโลเมตร
http://mahasarakham.mots.go.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=538736406


วัดที่สำคัญในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา ในประเทศไทยจึงมีวัดอยู่มากมาย สมัยโบราณวัดเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญกับสังคมไทยมาก เพราะวัดเป็นศูนย์กลางของสังคม และเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนที่อยู่ในสังคมนั้นๆ วัดจึงเป็นสถานที่ที่มีความผูกพันกับคนไทยมาโดยตลอด เมื่อเป็นเด็กก็ใช้วัดเป็นสถานที่วิ่งเล่นและเล่าเรียนหนังสือ หนุ่มสาวได้พบปะพูดคุยกันในงานวัดเมื่อมีเทศกาล งานบุญต่างๆ คนแก่คนเฒ่าหาความสงบสุขในบั้นปลายของชีวิตด้วยการไปวัดฟังเทศน์ฟังธรรม
          วัด คือ ศาสนสถานที่ใช้ประกอบกิจพิธีของพระพุทธศาสนา ภายในวัดประกอบด้วยสถานที่สำคัญๆ เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร เจดีย์ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง ฯลฯ ซึ่งสถานที่ต่างๆเหล่านี้นอกจากมีความสำคัญในด้านของศาสนาแล้ว ยังเป็นสถานที่ที่แสดงถึงศิลปวัฒนธรรมที่งดงามของไทยอีกด้วย เพราะเป็นศูนย์รวมความสวยงามของศิลปะไทยในด้านต่างๆ เช่น สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ฯลฯ (อ้างอิงจากจิราพร : 2548)
วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่าวัดพระแก้ว 




ตั้งอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง เขตพระราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออก ติดท้องสนามหลวง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นอารามหลวงที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ.2325 สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2327 ในบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือ ของพระบรมมหาราชวัง เพื่อใช้เป็นที่ประกอบ พระราชพิธีทางศาสนาที่สำคัญ และให้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ซึ่งเป็นพระพุทธรูป ศักดิ์สิทธิ์ปางสมาธิ ที่พระองค์ทรงอัญเชิญมาจากนครเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวัง ตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ สมัยอยุธยา ภายในบริเวณวัดพระแก้ว ประกอบด้วยสิ่งที่น่าสนใจ อาทิ พระอุโบสถ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วยังมีพระมณฑป, พระศรีรัตนเจดีย์, ปราสาทพระเทพบิดร, หอพระมนเทียรธรรม, วิหารยอด, หอพระนาก, พระอัษฎามหาเจดีย์ ซึ่งเป็นพระปรางค์ 8 องค์, หอพระคันธารราษฎร์ มณฑปยอดปรางค์, หอระฆัง, ศาลาราย, เจดีย์ทอง 2 องค์, นครวัดจำลองและยักษ์ทวารบาลซึ่งเป็นรูปยักษ์ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์
วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอกทางทิศตะวันออก มีระเบียงล้อมรอบ ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ใช้เป็นที่บวชนาคหลวงและประชุมข้าทูลละอองพระบาท ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้ ภายหลังจากการสถาปนาแล้วก็ได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชกาล เพราะเป็นวัดที่สำคัญ จึงมีการปฏิสังขรณ์ใหญ่ทั่วพระอารามทุก 50 ปี คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เนื่องในโอกาสที่จะมีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2525 ปัจจุบันวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้วเป็นสถานที่ ดึงดูดผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก ให้เข้ามาเยี่ยมชมและสักการะบูชาเป็นจำนวนมาก 
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต
                      พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปสลักจากแก้วมณีสีเขียว (หรือหยก) หน้าตักกว้าง 48.3 เซนติเมตร และสูงทั้งฐาน 66 เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางสมาธิ จากลักษณะขององค์พระ สันนิฐานว่าน่าจะเป็นฝีมือช่างเชียงแสน ซึ่งสร้างได้งดงามไม่มีที่ติ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อ พ.ศ.2327 โดยโปรดฯ ให้ประดิษฐานไว้ในบุษบกสลักด้วยไม้หุ้มทองคำ พระแก้วมรกตมีเครื่องทรง 3 ชุด คือ เครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน, เครื่องทรงสำหรับฤดูฝน และเครื่องทรงฤดูหนาว 
เครื่องทรงฤดูร้อน
เครื่องทรงสำหรับฤดูร้อนเป็นเครื่องต้นประกอบด้วยมงกุฎพาหุรัดทองกรพระสังวาลเป็นทองลงยาประดับมณีต่างๆจอมมงกุฎประดับด้วยเพชร
เครื่องทรงฤดูฝน

เครื่องทรงสำหรับฤดูฝน เป็นทองคำ เป็นกาบหุ้มองค์พระอย่างห่มดอง จำหลักลายที่เรียกว่าลายพุ่มข้าวบิณฑ์ พระเศียรใช้ทองคำเป็นกาบหุ้ม ตั้งแต่ไรพระศกถึงจอมเมาลี เม็ดพระศกลงยาสีน้ำเงินแก่ พระลักษมีทำเวียนทักษิณาวรรตประดับมณีและลงยาให้เข้ากับเม็ดพระศก 



เครื่องทรงฤดูหนาว
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเครื่องทรงฤดูหนาวถวายอีกชุดหนึ่งทำด้วยทองเป็นหลอดลงยาร้อยด้วยลวดทองเกลียวทำให้ไหวได้ตลอดเหมือนกับผ้าใช้คลุมทั้งสองพาหาขององค์ 




                                                                             
วัดมหาธาตุเป็นที่ตั้งของ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถานศึกษาชั้นอุดมศึกษาของพระสงฆ์
รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาขึ้น อาคารของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่เห็นในปัจจุบันสร้างเมื่อ พ. ศ. ๒๔๙๘ เป็น
อาคารแบบไทยประยุกต์สูง ๓ ชั้น

          วัดนี้เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมชื่อ วัดโพธาราม แต่ชาวบ้านเรียกกันสั้น ๆ ว่า วัดโพธิ์ ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงวัดราษฎร์เล็ก ๆ เท่านั้น ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี วัดโพธิ์จึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์และยกฐานะเป็นพระอารามหลวง
                                                                               

                                                                               
          วัดอรุณราชวรารามเป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา แต่เดิมมีชื่อว่า วัดมะกอก ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีได้เปลี่ยนมาเรียกว่า วัดแจ้ง วัดนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์จากวัดเล้ก ๆ จนเป็นวัดขนาดใหญ่ในสมัยกรุงธนบุรี                                                                                               
                                                                               
          วัดเบญจมบพิตร แต่เดิมเป็นเพียงวัดเล็ก ๆ มีชื่อว่า วัดแหลม หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วัดไทรทอง ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด วัดนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงสร้างพระราชวังดุสิตขึ้นในบริเวณวัดดุสิต


                                                                               


               วัดสุทัศนเทพวรารามตั้งอยู่ใจกลางของกรุงเทพมหานคร สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแต่เดิมพระราชทานนามว่า วัดมหาสุทธาวาส วัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระโตหรือพระใหญ่ที่อัญเชิญมาจากวัดในจังหวัดสุโขทัย
                                                                               
                   
          วัดบวรนิเวศวิหารมีชื่อเดิมว่า วัดใหม่ เป็นวัดที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศกดิพลเสพกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้ทรงสถาปนาขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่ได้เสด็จมาปกครองที่วัดนี้ และได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดบวรนิเวศวิหาร ”                                          

            
                   วัดสระเกศเป็นวัดโบราณที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อเดิมว่า วัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้โปรดให้สถาปนาวัดสะแกใหม่หมดทั้งพระอาราม และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดสระเกศ
                                                                               

                                                                               
        
 วัดราชนัดดารามเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นเกียรติแก่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี โดยโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยายมราช ( บุนนาค ) เป็นผู้จัดหาสถานที่และออกแบบในการสร้าง              
   
                   วัดเทพศิรินทราวาสเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลถวายแด่สมเด็จเทพศิรินทราบรมราชินีพระบรมราชชนนีของพระองค์และพระราชทานนามว่าวัดเทพศิรินทราวาสตามพระนามของสมเด็จพระบรมราชชนนี
http://utcc2.utcc.ac.th/faculties/comarts/webjrshow/temple/tabsirin.html